เคยสงสัยกันไหม แอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ทำให้ห้องเราเย็นได้ยังไง บทความนี้้เราจะ อธิบาย ง่ายๆ ว่าแอร์มีหลักการทำงานอย่างไร และ วงจรน้ำยาแอร์เป็นแบบไหน ไปติดตามกันได้เลยครับ
หลักการทำงานของวงจรน้ำยาแอร์
ปัจจุบันนี้ การทำความเย็นที่นิยมใช้ที่สุดในแอร์บ้าน และ อุตสาหกรรมทั้วไป จะนิยมใช้ระบบ
คอมเพรสเซอร์อัดไอ มากที่สุด
หน้าที่การทำงานของอุปกรณ์หลักมีดังนี้ คือ
- Evaporator ทำหน้าที่ดูดรับปริมาณความร้อนจากบริเวณหรือเนื้อที่ที่ต้องการทำความเย็นขณะที่น้ำยาทำความเย็นภายในระบบตรงบริเวณนี้ระเหย เปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สจะดูดรับปริมาณความร้อนผ่านผิวท่อทางเดินน้ำยาเข้าไปยังน้ำยาภายในระบบ ทำให้อุณหภูมิโดยรอบอีวาพอเรเตอร์ลดลง
- Compressor คอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ในการดูดซับและอัดน้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊สโดยดูดแก๊สที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันต่ำใจว่ะโพลีเอสเตอร์และอัดให้มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง จนถึงจุดที่แกพร้อมจะควบแน่นเป็นของเหลวเมื่อมีการถ่ายเทความร้อนออกจากน้ำยา
- Condenser คอนเดนเซอร์ทำหน้าที่ให้น้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊สกลั่นตัวเป็นของเหลวด้วยการระบายความร้อนออกจากน้ำยานั้นกล่าวคือน้ำยาในสถานะแก๊สอุณหภูมิสูงความดันสูงซึ่งถูกอัดส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ เมื่อถูกระบายความร้อนแสงออจะกลั่นตัวเป็นของเหลวและยังคงมีความดันและอุณหภูมิสูงอยู่
- Filter drier ทำหน้าที่กรองฝุ่งผง หรือสิ่งสกปรกต่างที่ติดมากับน้ำยาซึ่งอาจจะตกค้างในระบบตอนประกอบเครื่อง ช่วยดูดความชื่นที่ตกต้างอยู่ในระบบ และช่วยดูดซับกรด ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระบบปรับอากาศ
- Capillary tube ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำยาเหลวที่ผ่านเข้าไปยัง อีวาพอเรเตอร์ ลดความดันของน้ำยาให้มีความดันต่ำลง จนสามารถระเหยเปลี่ยนสถานะเป็นไอได้ในที่อุณหภูมิต่ำๆ ใน อีวาพอเรเตอร์