เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) คือ อะไร ทำหน้าที่อะไร
ในระบบทำความเย็น Expansion Valve เป็นอุปกรณ์ทำความเย็นที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวควบคุมการไหลของสารทำความเย็น ที่ไหลจาก คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) ผ่านเข้าไปยัง อีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) เพื่อลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง จนสามารถเดือนเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สได้ที่อุณหภูมิต่ำๆ ในอีวาพอเรเตอร์ และยังทำหน้าที่เป็นตัวแบ่งความดันของระบบเป็นด้านความดันสูงและความดันต่ำอีกด้วย
เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) มีกี่แบบ กี่ชนิด
ชุดควบคุมสารทำความเย็น หรือ Expansion valve แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ
- เอ็กซ์แพนชันวาล์วชนิดปรับด้วยมือ ( Hand Expansion valve )
- ออโตเมติกเอ็กซ์แพนชันวาล์ว ( Automatic Expansion valve )
- เทอร์โมสแตติกเอ็กซ์แพนชันวาล์ว ( Thermostatic Expansion Valve )
- ท่อแคพิลลารี ( Capillary tube )
- ลูกลอยด้านความดันต่ำ ( Low pressure float )
- ลูกลอยด้านความดันสูง ( High pressure float )
1. เอ็กซ์แพนชันวาล์วชนิดปรับด้วยมือ ( Hand Expansion valve )
เอ็กซ์แพนชันวาล์วชนิดปรับด้วยมือ เป็นชนิดที่ต้องใช้คนคอยควบคุมปรับวาล์วให้เปิดกว้างมากหรือน้อย ซึ่งอัตราการไหลของสารทำความเย็นนี้ยังขึ้นอยู่กับค่าความดันที่แตกต่างกันระหว่างด้านความดันสูงและความดันต่ำของระบบอีกด้วย
2. ออโตเมติกเอ็กซ์แพนชันวาล์ว ( Automatic Expansion valve )
ออโตเมติกเอ็กซ์แพนชันวาล์วหรือ A.E.V. ทำหน้าที่ควบคุมและปรับอัตราการไหลของสารทำความเย็นโดยอาศัยหลักควบคุมให้ความดันาทางอีวาพอเรเตอร์คงที่อยู่เสมอ ปกติแล้วลิ้นของ A.E.V. จะเปิดให้สารทำความเย็นผ่านได้เพียงเล็กน้อย และเมื่อมีการเพิ่มปริมาณความร้อนที่คิดเป็นโหลดในอีวาพอเรเตอร์ ค่าความดันของสารทำความเย็นในอีวาพอเรเตอร์จะสูงขึ้น ลิ้นของ A.E.V จะเปิดกว้างขึ้นให้สารทำความเย็นฉีดผ่านได้มากขึ้น และเมื่ออุณหภูมิลดลง ความดันของสารทำความเย็นในอีวาพอเรเตอร์ก็จะลดลง ทำให้ลิ้นของ A.E.V. เปิดแคบลงด้วย
3. เทอร์โมสแตติกเอ็กซ์แพนชันวาล์ว ( Thermostatic Expansion Valve )
เทอร์โมสแตติกเอ็กซ์แพนชันวาล์ว หรือ T.E.V. ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมและปรับอัตราการไหลของสารทำความเย็น โดยอาศัยหลักควบคุมให้อุณหภูมิทางอีวาพอเรเตอร์คงที่อยู่เสมอ T.E.V. จะติดตั้งอยู่ใกล้กับท่อทางเข้าของอีวาพอเรเตอร์ ลิ้นของเอ็กซ์แพนชันวาล์วจะเปิดเพียงเล็กน้อย และมีกระเปาะเป็นตัวรับสัมผัสอุณหภูมิท่อทางออกจาก อีวาพอเรเตอร์ หรือ ท่อ Suction โดยปลายกระเปาะนี้แนบติดอยู่กับท่อ Suction ของระบบทำความเย็นเพื่อทำหน้าที่เป็น Sensor อุณหภูมิและความดันของน้ำยาในกระเปาะจะเปลี่ยนแปลงไป ปรับให้ลิ้นของเอ็กซ์แพนชันวาล์วเปิดกว้างมากขึ้น หรือ น้อยลง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ Superheat ในท่อ Suction
4. ท่อแคพิลลารี ( Capillary tube )
ระบบของเครื่องทำความเย็นที่ใช้ท่อแคพิลลารี่เป็นตัวควบคุมการไหลของสารทำความเย็น เป็นแบบอาศัยหลักการทำงานอย่างง่าย ๆ ท่อแคพิลารี่หรือที่ช่างแอร์ทั่ว ๆ ไปเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า “ท่อแคพทิวบ์” จะเป็นท่อที่มีขนาดเล็กมาก ที่พบใช้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อตั้งแต่ 0.028-0.095 นิ้ว ท่อแคพิลลารี นี้จะพบในระบบแอร์บ้านทั้วไปที่มีขนาดไม่เกิน 36,000 BTU ในระบบของเครื่องทำความเย็น แบบนี้ ท่อแคพิลลารีมักจะอยู่ติดกับแผงฟินคอยล์ เพื่อฉีดสารทำความเย็นที่มาจาก คอยล์ร้อน หรือคอนเดนเซอร์ ( Condenser ) เข้าไปยังคอร์ยเย็นหรืออีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator )
5. ลูกลอยด้านความดันต่ำ ( Low pressure float )
ในขณะที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงาน สารทำความเย็นเหลวซึ่งกลั่นตัวเรียบร้อยแล้วจากคอนเดนเซอร์ ( Condenser ) จะไหลเข้าสู่ห้องลูกลอยด้านความดันสูง จนกระทั่งเมื่อมีจำนวนเพียงพอก็จะทำให้ลูกลอยขึ้น ลิ้นลูกลอยจะเปิดให้สารทำความเย็นเหลวซึ่งมีความดันสูงไหลผ่านไปส่งเข้าลิ้นอีกตัวหนึ่งที่อาศัยน้ำหนักของตัวเองกดลง สารทำความเย็นเหลวเมื่อไหลผ่านลิ้นนี้จะมีความดันลดลง เนื่องจากต้องสูญเสียความดันให้กับแรงกดของลิ้น
6. ลูกลอยด้านความดันสูง ( High pressure float )
ระบบทำความเย็นที่ใช้ลูกลอยด้านความดันสูงเป็นตัวควบคุมอัตราการไหลของสารทำความเย็น เคยเป็นที่นิยมใช้กันมากกับตู็เย็นสมัยแรก ๆ จากรูปด้านล่าง แสดงสารทำความเย็นเหลวที่มาจากคอนเดนเซอร์ ( Condenser ) จะถูกส่งเข้าห้องลูกลอยด้านความดันต่ำ ห้องลูกลอยด้านความดันต่ำนี้ประกอบด้วยลูกลอยและลิ้นลูกลอย ( float needle ) และเมื่อสารทำความเย็นเหลวผ่านลิ้นลูกลอยเข้าไปนั้น ความดันของสารทำความเย็นเหลวในห้องลูกลอยจะลดต่ำลง